บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2024

เหล็กเกรด SS400 และ A 36 ความเหมือนที่แตกต่าง?

รูปภาพ
 เหล็กเกรด SS400 และ A 36 #ใช้แทนกันได้มั้ย…!? เหล็กเกรด SS400 และ A 36 ความเหมือนที่แตกต่าง? #ใช้แทนกันได้มั้ย …!? . . ระหว่างเทรนนิ่งหลักสูตร AWS D1.1 มีคำถามน่าสนใจครับ และถามเข้ามาบ่อยมาก เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเหล็กเกรด SS400 และ A 36 . วันนี้มาเล่าสู่กันฟัง…เผื่อเป็นประโยชน์กันนะครับ . เหล็กถ้าแบ่งตามหลักวัสดุวิศวกรรม จะมีกลุ่มหนึ่งครับเรียกว่า เหล็กกล้าคาร์บอน (Carbon steel) . นั่นคือเหล็กกลุ่มนี้จะผสมธาตุคาร์บอนเพื่อเพิ่มความแข็งแรงขึ้นไปนั่นเองครับ . แบ่งได้ 3 ระดับคือ . 1.เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ (Low carbon steel) มีคาร์บอนไม่เกิน 0.3%C . 2.เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง (Medium carbon steel) มีคาร์บอนประมาณ 0.3-0.6%C . 3.เหล็กกล้าคาร์บอนสูง (High carbon steel) มีคาร์บอนประมาณ 0.6-2.06%C . ***เปอร์เซ็นต์จะมีค่าแตกต่างกันไปตามมาตรฐานและแหล่งอ้างอิงบ้างนะครับ . . แต่...ในการแบ่งเกรดเหล็กต้องคำนึงอยู่หลักๆ 3 ส่วนดังนี้ครับ . 1. #ปริมาณธาตุต่างๆที่กำหนด เช่นห้ามเกิน หรือไม่น้อยกว่า หรืออยู่ในช่วงที่กำหนด . 2. #สมบัติทางกลครับ เช่น ค่าทนแรงดึงต้องไม่ต่ำกว่าที่กำหนด . 3. #โครงสร้า...

การเชื่อมทิก (TIG) โดยใช้ลวดไส้ฟลักซ์ (TGX - Flux Cored Filler Rods)

รูปภาพ
  การเชื่อมทิก (TIG) โดยใช้ลวดไส้ฟลักซ์   (TGX - Flux Cored Filler Rods) . ทางเลือกสำหรับการเชื่อมท่อสแตนเลสในแนว Root Pass โดยไม่ต้องใช้แก๊สปกคลุมด้านหลัง (gas purging) . . ในระหว่างเทรนนิ่งออนไลน์หลักสูตร คู่มือ ASME IX   มีผู้สนใจหัวข้อนี้เป็นอย่างมาก วันนี้ผมจึงนำมาเล่าสู่กันฟังนะครับ…เพื่อเป็นประโยชน์กับคนงานเชื่อมกันนะครับ . และขอขอบคุณสำหรับเพื่อนๆพี่ๆที่ร่วมกันแชร์ในหัวข้อนี้ระหว่างชั่วโมงอบรมมีค่ามากๆครับ ^___^ . ในระบบงานท่อส่งลำเลียงต่างๆ เช่น furnaces, reactors, heat exchangers, distillation towers, boilers and turbines เป็นต้น วัสดุส่วนใหญ่ที่ใช้จะเป็นสแตนเลสหรือเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless steels) . หลักๆเกรดเหล็กที่ใช้ก็จะเป็น   Series 3xx หรือ austenitic stainless steel . ปกติแล้ว…การเชื่อมทิก (TIG) สำหรับท่อสแตนเลสจำเป็นต้องมีแก๊สปกคลุมทั้งด้านหน้าและด้านหลังภายในท่อ (Back Purging) เพื่อไม่ทำให้แนวเชื่อมเกิดทำปฏิกิริยากับอากาศภายนอก . หรือที่เรียกว่า ออกซิเดชัน นั่นเอง . เพราะถ้าแก๊สปกคลุมไม่ดีแล้ว สิ่งนี้จะทำให...

#สรุปง่ายๆ สำหรับบทเรียน AWS D1.1 (Part 01) ที่ต้องรู้!

รูปภาพ
 #สรุปง่ายๆ สำหรับบทเรียน AWS D1.1 (Part 01) ที่ต้องรู้! เพื่อให้คุณสามารถใช้มาตรฐานนี้ได้อย่างถูกต้องและมั่นใจ  นี่คือหัวข้อสำคัญที่คุณไม่ควรพลาด: . . - Standard vs. Code: สิ่งที่แตกต่างและวิธีใช้ให้ถูกต้อง! - วิธีใช้คำสำคัญ: เมื่อไรควรใช้ "Shall", "Should", "May" อย่างไรให้เป๊ะ! - การประยุกต์ใช้มาตรฐาน AWS: สำหรับงานต่างๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ - 11 หัวข้อหลัก (Clause): ที่คุณต้องรู้เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ - ขอบเขตการใช้งาน AWS D1.1: เข้าใจให้ชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด . Action Item: สิ่งที่คุณต้องทำต่อจากนี้! . อย่ารอช้า! คลิกลิงก์ด้านล่างเพื่อเข้าร่วมการทบทวนและเพิ่มความรู้แบบ Fast Lance ทันที: . ทบทวนภาพรวม AWS D1.1 (Part 01) คลิกที่นี่เพื่อเริ่มต้น https://speedupwelding.com/awsd11overview/ . . ปล. ความสำเร็จเกิดจากการทำซ้ำทุกวัน เพิ่มขึ้นทีละ 101%!  ถ้ามีคำถามหรือข้อสงสัย อย่าลังเลที่จะถามผมมาได้เลยครับ! หวังว่าบทเรียนนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคนครับ ขอบคุณครับ, อาจารย์โอ

#รอยเชื่อมไร้ที่ติ…เริ่มต้นที่การเลือกโลหะเติมที่ใช่ – มาดูกันเลย !!!

รูปภาพ
#รอยเชื่อมไร้ที่ติ…เริ่มต้นที่การเลือกโลหะเติมที่ใช่ – มาดูกันเลย !!! . . . สวัสดีครับ…มีลูกศิษย์หลายๆคนในคอร์สข้อกำหนดขั้นตอนปฏิบัติงานเชื่อม หรือ WPS (Welding  Procedure  Specification) ถามว่าจะเลือกลวดเชื่อม หรือโลหะเติม (Filler Metal) อย่างไรดี…มีวิธีเลือกยังไงบ้าง ??? . เป็นคำถามที่คลาสสิค…แต่ก็เก็บซ่อนอะไรบางอย่างไว้เยอะเหมือนกัน… วันนี้จะมาเล่าสู่กันฟังครับ…เผื่อเป็นประโยชน์กับทุกท่าน… . . . การเลือกโลหะเติม หรือ ลวดเชื่อม…เนี่ย “ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ” นะครับ  #วิธีที่ง่ายสุดๆ คือเลือกลวดเชื่อมที่ความแข็งแรงสอดคล้องกับโลหะที่เราจะเชื่อมครับ  (อ้าว…ตอบแบบนี้…แก้ปัญหาอะไรไม่ได้เลยครับ 555) . . มาดูกันต่อครับ…หลักการก็เป็นอย่างนั้นจริง…แต่มันมี step ของมันนะครับ เดี๋ยวเรามาดู…ไล่เรียงกันไปครับ  เริ่มกันเลย !! หมายความว่า…”ความแข็งแรงของลวดเชื่อมควรเท่ากับหรือมากกว่าของชิ้นงาน” แต่อย่างว่า…#มันไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุดเสมอไป… . เอ๊ะ…มันมีอะไรมากกว่านั้นอีกหรอ…?? .  บางครั้ง…การใช้ลวดเชื่อมที่ความแข็งแรงน้อยกว่าก็อาจจะดีกว่าเยอะนะ มีหลายเรื่องที่ต้องคิดเมื่อเ...